วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทฤษฎีภาวะผู้นำ

การศึกษาภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยมิชิแกน   (The Michigan Leadership Studies)  
      งานวิจัยเกี่ยวกับผู้นำที่สำคัญนั้นเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอ  สเตท (Ohio  State0 ในเวลาเดียวกันในปี  ค.ศ.  1947  มีการศึกษาที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน (Michigan)  โดย  Rensis  Likert  ได้เริ่มศึกษาว่าทำอย่างไรจึงจะจัดการกับความพยายามของบุคคลเพื่อทำให้วัตถุประสงค์ด้านการผลิตและความพอใจสำเร็จได้อย่างดีที่สุด(Likert, 1961)  วัตถุประสงค์ของการวิจัยภาวะผู้นำส่วนใหญ่ของทีมงานเพื่อค้นหาหลักและวิธีของความเป็นผุ้นำที่มีประสิทธิผลโดยมุ่งให้ความสำคัญของผลผลิต (Production  Orientation)  หรือทำให้งานประสบความสำเร็จ  และมีการมุ่งให้ความสำคัญของกับคน  (Employee  Orienta-tion)  หรือการสนับสนุนในการทำงาน  หัวหน้าจะทำให้มีผลผลิตสูงในกลุ่มงานและดูแลให้ความสำคัญกับผลผลิตและคน  พวกเขาใช้เวลาทั้งหมดในการวางแผนแผนกงานละดูแลพนักงานและใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้น้อยเหมือนงานของผู้ใต้บังคับบัญชา  พวกเขาให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีอิสระในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ  (Kahn  and  Katz,  1953 :  585-611)
            จากการวิจัยได้รูปแบบพฤติกรรมของผู้นำ  2 รูปแบบ คือ  มุ่งเน้นคน (Employee centered)  และมุ่งเน้นผลผลิต  (Production  center)  หัวหน้างานที่มุ่งเน้นคน  (Employee centered  supervisors)  จะมีลักษณะมุ่งเน้นที่ความสำเร็จในการทำงานมากกว่า  โดยทั่วไป หัวหน้าที่มุ่งเน้นคนพบว่า  มีกลุ่มงานที่มีผลผลิตมากกว่ากลุ่มที่มีหัวหน้างานที่มุ่งเน้นผลผลิต  (Likert, 1961) 
            การวิจัยในภายหลังโดย  Rensis  Likert    ได้เสริมเพิ่มเติมในการศึกษาแบบฉบับของผู้นำที่มีส่วนร่วม(Likert, 1961)  เช่น  ผู้นำควรใช้การประชุมของกลุ่มเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของพนักงานในการทำการตัดสินใจ  การติดต่อสื่อสาร  ความร่วมมือกัน  และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง  ผู้นำแบบมีส่วนร่วมช่วยสนับสนุนและแนะแนวทางการตัดสินใจของกลุ่ม  และมุ่งเน้นให้พวกเขาทำการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาผู้นำแบบมีส่วนร่วมเมื่อได้มีการกำหนดเป้าไว้สูง  ต้องมีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค  และมีพฤติกรรมสนับสนุนด้วย  ผุ้นำจะกระทำตนเองเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสาร  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ที่ออกมามีผลผลิตสูง  คุณภาพของการทำงานสูง  การขาดงานต่ำและอัตราการร้องทุกข์ต่ำ
ที่มา:  วิเชียร  วิทยาอุดม.  (2550).  ภาวะผู้นำ.  พิมพ์ครั้งที่  4  .  กรุงเทพฯ : บริษัท  ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์  จำกัด,  67.
 

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเรียนรู้ของนักเรียนชั้น ป.5


การทำกล้วยฉาบเค็ม

            การทำกล้วยฉาบ  หมายถึง  การทำให้กล้วยสุกก่อนแล้วนำมาคลุกเคล้ากับน้ำเชื่อมที่อิ่มตัว น้ำตาลจะเกาะติดเป็นเกล็ดขาว ๆ
            การกล้วยฉาบเค็ม  หมายถึง  การฝานกล้วยดิบให้เป็นแผ่นบางๆ  นำไปคลุกเคล้ากับเกลือ  ทอดกล้วยให้สุก  จะได้รสชาติที่เค็ม  มัน  ในการกล้วยฉาบเค็มจะนิยมใช้กล้วยฉาบดิบแก่จัด  เพราะง่ายต่อการฝานเป็นชิ้นบางๆ เมื่อนำไปทอดไม่เหนียวติดกัน 

             อุปกรณ์
1.            กระทะ
2.            กระชอน
3.            มีดสองคม
4.            มีด
5.            ช้อน
6.            ตะเกียบยาว
7.            ถาด
8.            กระดาษซับมัน
9.            กะละมัง
10.    เตาแก๊สหรือเตาถ่าน
              
               ส่วนผสม
1.            กล้วยน้ำว้าดิบแก่จัด       1  หวี
2.            เกลือ                               1/2 ช้อนชา
3.            งาดำ                                1/4 ถ้วยตวง
4.            น้ำมันพืช                         2  ถ้วยตวง
5.            เนย                                  1  ช้อนโต๊ะ
6.            น้ำสะอาด

วิธีทำ
1.  เลือกกล้วยน้ำว้าที่แก่จัด   ตัดควันและท้ายผลกล้วย  ใช้มีดกรีดตามแนวยาวของ 
     เปลือกกล้วย   นำผลกล้วยที่กรีดแล้วแช่น้ำ  ใช้ด้ามช้อนแคะเปลือกกล้วยออก
2.  ใช้มีดสองคมฝานผลกล้วยให้เป็นชิ้นบาง ๆ  นำกล้วยฉาบที่ฝานแล้วคลุกกับเกลือและ
   งาดำ
3.  นำกระทะตั้งบนเตาใช้ไฟปานกลาง  เมื่อน้ำมันร้อนใส่เนย
4. ใส่กล้วยฝานที่คลุกเกลือและงาดำลงไปในกระทะ ใช้ตะเกียบยาวแยกชิ้นกล้วยไม่ให้
    ติดกัน
5.  เมื่อชิ้นกล้วยสุกมีสีเหลืองทองใช้กระชอนตักขึ้นจากกระทะ  ใส่ตะแกรงเพื่อให้น้ำมันหยดออกจากชิ้นกล้วย   เทลงบนถาดที่รองด้วยกระดาษซับมัน
6.  บรรจุใส่ถุง   นำไปรับประทานหรือจำหน่าย

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมปริญญาโท



งานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

กิจกรรมต้อนรับน้องใหม่

ปริญญาโท รุ่นที่ 2